ชื่อ : อักษรอริยกะ
ชนิด : อักษรสระ-พยัญชนะ
ทิศทางการเขียน : เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน
สำหรับเขียน : ภาษาบาลี
ผู้ประดิษฐ์ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
"อริยกะ" เป็นรูปแบบตัวอักษรซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชเป็น "พระวชิรญาณเถระ" ทรงประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้เขียนหรือพิมพ์ภาษาบาลีแทนตัวอักษรขอมที่ใช้กันมาแต่เดิม นับเป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิรูปพระพุทธศาสนาของพระองค์ พร้อมๆ กับที่ทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย
ช่วงเวลาที่ทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะนั้นไม่ปรากฏพุทธศักราชชัดเจน สันนิษฐานว่าน่าจะทรงประดิษฐ์ขึ้นหลังจากได้เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว เวลานั้นมีผู้มาถวายตัวเป็นศิษย์จำนวนมาก เพื่อให้การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเป็นไปโดยสะดวกจึงน่าจะทรงประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้แทนอักษรขอม ที่เดิมถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์สำหรับเขียนเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นภาษาบาลี (เรียกว่า อักษรขอมบาลี) และภาษาไทย (เรียกว่า อักษรขอมไทย)
ทั้งพระองค์ยังทรงมีความรู้ด้านการพิมพ์ ทรงรู้ปัญหาในการหล่อและการเรียงพิมพ์ และด้วยทรงรู้ภาษาอังกฤษและภาษาละติน จึงน่าจะทรงดัดแปลงอักษรไทยและวิธีการเขียนโดยอาศัยอักษรโรมันเป็นแม่แบบ ทั้งนี้ พิจารณารูปแบบอักษรอริยกะแล้วพบว่าได้รับอิทธิพลจากอักษรโรมันเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการแบ่งอักษรเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. อักษรอริยกะตัวพิมพ์ 2. อักษรอริยกะตัวเขียน เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ลักษณะเช่นนี้พบได้ในรูปแบบตัวอักษรโรมัน
ด้านระบบการเขียนหรืออักขรวิธีก็ปรากฏอิทธิพลจากอักษรโรมันประสมอยู่มากเช่นกัน โดยเฉพาะการจัดวางรูปสระ ขณะที่อักษรขอมหรืออักษรไทยวางสระไว้ทั้งด้านหน้า ด้านบน ด้านล่าง และด้านหลังพยัญชนะ ซึ่งจะเกิดปัญหามากสำหรับการเขียนหรือการพิมพ์ เมื่อทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะขึ้น จึงน่าจะทรงพยายามที่จะตัดความยุ่งยากดังกล่าวออกไปทั้งหมด และใช้ตามระบบการเขียนอักษรโรมันซึ่งง่ายกว่าโดยเขียนสระเรียงไว้หลังพยัญชนะทั้งหมด
สำหรับนามพระราชทานว่า "อักษรอริยะ" อาจเนื่องมาจากทรงต้องการแสดงให้เห็นว่าเป็นอักษรของ "ผู้เป็นอารยชน" ซึ่งอาจมีความหมายเป็นนัยยะที่แสดงถึงการปรับตัวเข้าหาความเป็นอริยะหรืออารยะ อักษรอริยกะจึงนอกจากเพื่อความสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนแทนอักษรขอมแล้ว ยังอาจมีนัยยะถึงการปรับเปลี่ยนเข้าหาความเป็นอารยะตามตะวันตกด้วย
หลักฐานเกี่ยวกับความแพร่หลายของอักษรอริยกะมีไม่มากนัก มีบันทึกเพียงว่านำไปใช้พิมพ์บทสวดมนต์บ้าง พิมพ์หนังสือปาฏิโมกข์บ้าง และพิมพ์หนังสืออื่นๆ บ้าง และใช้แทนหนังสือใบลานที่แพร่หลายมาแต่เดิม แต่ความแพร่หลายนี้ก็จำกัดวงอยู่เฉพาะในวัดบวรนิเวศวิหารเท่านั้น ส่วนจารึกอักษรอริยกะที่มีให้เห็นชัดเจนในปัจจุบันคือจารึกวัดราชประดิษฐ์
การใช้อักษรอริยกะเสื่อมไปเมื่อทรงลาผนวชขึ้นเสวยราชสมบัติ ประกอบกับรูปร่างและระบบอักขรวิธีแตกต่างจากอักษรไทยมากจึงไม่ได้รับความนิยม ทั้งในรัชกาลต่อมาได้ทรงนำรูปอักษรไทยมาปรับใช้เขียนภาษาบาลีได้ ความจำเป็นที่จะใช้อักษรอริยกะเขียนแทนอักษรขอมก็หมดลงกระทั่งเลิกใช้ไปในที่สุด
อักษรบาลีประดิษฐ์
วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555
อักษรปาลยักขระ
อักษรบาลีประดิษฐ์
ชื่อ : อักษรปาลยักขระ (ปาลิ + อักขระ)
ชนิด : อักษรสระประกอบ
ทิศทางการเขียน : เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน
สำหรับเขียน : ภาษาบาลี
ผู้ประดิษฐ์ : Stkune PPsai
เหตุผลที่ประดิษฐ์ : ภาษาบาลีไม่มีอักษรที่ใช้เฉ พาะอย่างเป็นทางการ แต่มีการใช้อักษรอื่นๆในการ เขียน เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี รวมถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ อักษรโรมัน จึงได้ประดิษฐ์อักษรชุดนี้ข ึ้นมาเพื่อใช้ในการอ่านเขีย นจดบันทึกภาษาบาลีได้
ลักษณะ : เป็นเส้นเรียบง่าย โดยบางตัวดัดแปลงมาจากอักษร ไทย อักษรเขมร อักษรที่ดัดแปลงจากอักษรไทยเป็นชุดแรก ได้แก่ ก,ง,จ,ม,ย,ร,ว,ห อักษรที่ดัดแปลงจากอักษรเขม รเป็นชุดแรกได้แก่ สระลอยทุกตัว
ชื่อ : อักษรปาลยักขระ (ปาลิ + อักขระ)
ชนิด : อักษรสระประกอบ
ทิศทางการเขียน : เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน
สำหรับเขียน : ภาษาบาลี
ผู้ประดิษฐ์ : Stkune PPsai
เหตุผลที่ประดิษฐ์ : ภาษาบาลีไม่มีอักษรที่ใช้เฉ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)